วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

2 . การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

                     การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาประกอบเองนั้น ควรเริ่มจากที่ซีพียูก่อนเป็นอันดับแรกสุด เนื่องจากจะทำให้ง่ายต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์อย่างอื่นต่อไปสมมุติว่าเริ่มจากซีพียู AMD Athlon XP 2100+ เมื่อได้ซีพียูแล้วต่อไปก็ไปดูเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้สำหรับ AMD คือ เมนบอร์ด Socket A
               
              เมนบอร์ด  แต่ละรุ่นก็จะมีชนิดของแรมที่ใช้ มี Sound on Board ด้วยไหม มี VGA on Board ด้วยไหม ถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นที่มี Sound และ VGA อยู่แล้ว ก็ทำให้คุณไม่ต้องซื้อซาวนด์การ์ด ไม่ต้องซื้อการ์ดจอเพิ่ม นอกจากนี้เมนบอร์ดบางรุ่นก็มี HDD Raid มีคอนเน็คเตอร์แบบ SCSI เอาไว้สำหรับต่อฮาร์ดดิสก์หลายๆ ตัว มีพอร์ต FireWire เอาไว้ต่อกล้องดิจิตอลวิดีโอ เมนบอร์ดที่มีอุปกรณ์เยอะ ก็จะมีราคาแพงขึ้นไปด้วย
               
                 หลังจากที่ได้เมนบอร์ดแล้วต่อไปก็ไปดูที่ แรม  อย่าลืมดูว่าเมนบอร์ดที่คุณเลือกมาต้องใช้แรมชนิดไหน เป็น SDRAM หรือว่า DDR ซึ่งดูได้จากสล็อตแรมในตารางราคา สำหรับแรมก็ควรเลือกระดับ 256 เมกะไบต์ขึ้นไปได้แล้ว สำหรับเครื่องทุกวันนี้ เนื่องจาก OS และโปรแกรมส่วนใหญ่ใช้แรมเยอะ
               
                 ต่อไปก็ดู ฮาร์ดดิสก์  ความจุ ความเร็วรอบ ก็ดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เอามาใช้งานด้านไหน หากเป็นเพียงดูหนัง เล่นเกมส์ พิมพ์งานบ้างเล็กน้อย ความจุฮาร์ดดิสก์ 40 - 60 กิกะไบต์ก็รับมือได้สบายๆ แต่ถ้าเป็นงานกราฟิกก็อาจเพิ่มขึ้น
              
                 เสร็จจากฮาร์ดดิสก์ก็ดูที่ จอ สำหรับจอขนาด 17 นิ้วในปัจจุบันมีราคาถูกลงมาก ใกล้เคียงกับจอ 15 นิ้ว จอ 17 นิ้วจะเหมาะกับโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ๆ ทุกวันนี้ที่มีเครื่องมือ มีอินเทอร์เฟสขนาดใหญ่ แล้วก็ควรเลือกเป็นจอแบบจอแบน (ไม่ใช่จอแอลซีดี) ข้อดีของจอแบนก็คือมีแสงสะท้อนจากจอน้อย ทำให้สบายตาเมื่อใช้งานานๆ
               
              การ์ดจอและการ์ดเสียง  สำหรับคนที่ต้องการการ์ดจอและการ์ดเสียงที่มีประสิทธิภาพดีกว่าประเภท On Board ก็ควรเลือกซื้อเพิ่ม ต้องดูการใช้งานเป็นหลัก หากเน้นเล่นเกมสามมิติ ก็ต้องการ์ดพวก Geforce 3, Geforce 4 หรือ ATI Radeon 9800 เป็นต้น ส่วนการ์ดเสียงก็มีให้เลือกหลายรุ่น ที่ขึ้นชื่อก็ของ Sound Blaster ของ Yamaha
               
                 ลำโพง  ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรมี หากต้องการลำโพงที่เสียงดีๆ หน่อยก็ควรเลือกลำโพงที่มี Subwoofer ด้วย ราคาก็ตั้งแต่สองพันเศษๆ ไปจนถึงเป็นหมื่น ลองฟังเสียงว่าชอบรุ่นไหน ลำโพงที่ราคาสูงมากๆ อย่าลืมเลือกซาวนด์การ์ดดีด้วย
             
              ไดรฟ์ DVD, CD-RW, CD-ROM   หากต้องการดูหนังจากแผ่นดีวีดี เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ต้องมีไดรฟ์ดีวีดี ราคาได้ก็ประมาณ 3 พันบาท หากต้องการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ด้วย เช่น ทำซีดีเพลง ทำวิดีโอซีดี แบ็คอัพงาน ไดรฟ์ CD-RW น่าใช้งานกว่า และสุดท้ายก็เป็นไดรฟ์ CD-ROM ไดรฟ์นี้ก็เอาไว้ฟังเพลง เอาไว้ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นซีดี เลือกดูว่าชอบอย่างไหน
              
               อุปกรณ์อื่นๆ   พวกเม้าส์ คีย์บอร์ด อันนี้ก็เลือกตามความชอบ แต่ให้ดูที่ราคาสูงนิดนึง จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลังว่าของที่ซื้อมาใช้งานได้ไม่คุ้มค่า
                
                   ก่อนจะซื้อก็ลองดูรายการจากตารางราคาก่อนก็ได้ จากนั้นก็ทำราคาออกมา ดูว่าราคาสูงกว่างบที่ตั้งเอาไว้หรือเปล่า ถ้าสูงเกินไปจะลดอุปกรณ์ตัวไหนได้ เช่น การ์ดจอรุ่นนี้แพงไป ก็เลือกที่ราคาถูกลง ร้านขายคอมพิวเตอร์หลายร้านยินดีที่จะประกอบเครื่องให้ตามสเป็คที่เราเลือกได้ ไม่จำเป็นว่าต้องเลือกซื้อแล้วมานั่งประกอบเอง

1 . การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์

                                                  การเชื่อมต่อ ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
       1. การต่อระบบไฟและสายเมาส์-คีย์บอร์ด
การต่อ สาย Power ด้านหลังควรจะเสียบให้แน่น ๆ  ส่วนสายเมาท์กับคีย์บอร์ดอย่าใส่สลับกัน  ถ้าใส่สลับกับคีย์บอร์ดอาจจะไม่ติดเลยก็ได้ครับ
          จากนั้น ก็ใส่สายจอภาพและสายลำโพงได้ตามลำดับ  เท่านี้ก็เท่ากับเรียบร้อยจากนั้นก็ลองเปิดเครื่องทดสอบกันเลยละกันว่าจะ ออกมาในลักษณะอย่างไรแต่คงไม่มีปัญหาอะไรหรอกครับถ้าได้ปฏิบัติตามที่ผมได้ พูดมาทั้งหมดก็เรียบร้อยถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาตอนเปิดเครื่องอย่าตกใจครับ ลองเริ่มต้นตรวจเช็คดูให้ดีๆว่าเราผิดพลาดตรงไหน
      2. การต่อสายสัญญาณ
        การ ต่อสายสัญญาณให้พิจารณ พอร์ต หรือช่องทางที่จะต่อตามภาพ ดังนี้
  • วีจีเอ พอร์ต (VGA Port) 
        พอร์ตนี้ สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้
  •  พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
        เป็น พอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มี พอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน
    • พอร์ตอนุกรม จะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา)
    • พอร์ตนี้จะ ต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น
    • สามารถต่อ ความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก
  •  พอร์ตขนาน (Pararell Port)
             หน้าที่ ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย
    • พอร์ตขนานจะ มีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต)
    • พอร์ตนี้จะ ต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น
    • สามารถต่อ ความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย
    • การส่งสัญญาณ จะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
  • พอร์ตยูเอสบี (USB Port)
              พอร์ตยู เอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
    • คอมพิวเตอร์ ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้
    • เป็นช่องสี่ เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร
    • พอร์ตชนิด ใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป
    • สามารถเชื่อม ต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว
    • เป็นมาตราฐาน ใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
    • การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่
  • พอร์ตมัลติมีเดีย (Multimedia Port)
             ปัจจุบัน นี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะติดตั้งการ์ดเสียงมาให้ด้วย ซึ่งการ์ดนี้จะมีช่องสำหรับต่อกับลำโพง ไมโครโฟน และพอร์ตสำหรับต่อกับจอยสติ๊กอยู่ในตัวโดยพอร์ตต่าง ๆ นั้นจะใช้สีแสดงหน้าที่การทำงาน เช่น ช่องสำหรับต่อลำโพงจะใช้แจ๊กสีเขียว ส่วนไมโครโฟนจะแทนที่ด้วยสีแดง และสีอื่น ๆ สำหรับแทนที่ Line In และ Line Out นอกจากนั้นการ์ดเสียงรุ่นราคาถูก อาจจะไม่ใช้สีแสดงการทำงานของแจ๊กแต่ละตัว แต่จะมีสัญลักษณ์แสดงการทำงานสลักติดอยู่แทน
             เป็น อย่างไรบ้าง สำหรับส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ทางด้านหลังของคอมพิวเตอร์ ไม่ยากเกินที่จะเรียนรู้ว่าพอร์ตไหนเป็นพอร์ตอะไรใช่ไหม อันที่จริงพอร์ตด้านหลังคอมพิวเตอร์ยังมีอีกหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่ไม่กล่าวมาอาจจะไม่สำคัญมากนัก เลยขอละไว้.